การแพทย์แผนไทยสมัยรัตนโกสินทร์



  การแพทย์สมัยรัชกาลที่ ๑
         พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม หรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นอารามหลวงให้ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และโปรดเกล้า
ให้รวบรวมและจารึกตำรายา ท่าฤาษีดัดตน และตำราการนวดไทยไว้ตามศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอโรงพระโอสถคล้ายกับในสมัยอยุธยา   ผู้ที่รับ
ราชการ เรียกว่าหมอหลวง ส่วนหมอที่รักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่าหมอราษฎร หรือหมอเชลยศักดิ์
การแพทย์สมัยรัชกาลที่ ๒
         พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้โปรดเกล้าฯ  ให้เหล่าผู้ชำนาญลักษณะโรคและสรรพคุณยา รวมทั้งผู้ที่มีตำรายาดี ๆ นำเข้ามาทูลเกล้าฯ  ถวายและให้กรมหมอหลวงคัดเลือกและจดเป็นตำราหลวงสำหรับโรงพระโอสถ พ.. ๒๓๙๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย


การแพทย์สมัยรัชกาลที่ ๓
         พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ อีกครั้งและโปรดเกล้าฯ   ให้จารึกตำรายาบอกสมุฏฐานของโรคและวิธีรักษาได้บนแผ่นหินอ่อน ประดับตามผนังโบสถ์และศาลาราย และทรงให้ปลูกต้นสมุนไพรที่หายากได้ในวัดเป็นจำนวนมาก นับเป็นการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอีกรูปแบบหนึ่ง  ซึ่งมิได้จำกัดอยู่เพียงในวงศ์ตระกูลเหมือนแต่ก่อน  นอกจากนี้ยังทรงปฏิสังขรณ์วัดราชโอรสาวราราม และได้จารึกตำราไว้ในแผ่นศิลาตามเสาระเบียงพระวิหาร
         รัชสมัยนี้มีการนำการแพทย์แบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่โดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน โดยการนำของนายแพทย์แดน บีช  บรัดเลย์ ซึ่งคนไทยเรียกว่า  หมอบรัดเลย์
ซึ่งนำวิธีการแพทย์แบบตะวันตกมาใช้ เช่น การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ การใช้ยาเม็ดควินินรักษาโรคไข้จับสั่น   เป็นต้น        นับเป็นวิวัฒนาการการแพทย์แผนไทยและ
แผนตะวันตก
การแพทย์สมัยรัชกาลที่ ๔
         พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้นเช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนความนิยมของชาวไทยได้    เพราะการแพทย์แผนไทยเป็นวิถีชีวิตของคนไทย เป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบเนื่องกันมา


การแพทย์แผนไทยสมัยรัชกาลที่ ๕
         รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการจัดตั้ง ศิริราชพยาบาลขึ้นในปี พ.. ๒๔๓๑ ซึ่งมีการเรียนการสอนและให้การรักษาทั้งการแพทย์แผนไทย   และแผนตะวันตกร่วมกัน  มีการพิมพ์ตำราแพทย์ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ..๒๔๓๘ ชื่อ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม ๑- ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก ต่อมาพระยาพิษณุประสามเวช (หมอคง) เห็นว่าตำราเหล่านี้ยากแก่ผู้ศึกษา    จึงพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง ๒ เล่ม และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป ๓ เล่ม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยังคงใช้มาจนทุกวันนี้
 การแพทย์แผนไทยสมัยรัชกาลที่ ๖
         รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีการสั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย และมีประกาศให้ใช้ พระราชบัญญัติการแพทย์เพื่อควบคุมการประกอบโรคศิลปะเพื่อป้องกันอันตรายอันเนื่องมาจากการประกอบการของผู้ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัดด้วยความไม่พร้อมในด้านการเรียนการสอน   การสอบและการประชาสัมพันธ์  ทำให้หมอพื้นบ้านจำนวนมากกลัวถูกจับจึงเลิกประกอบอาชีพนี้  บ้างก็เผาตำราทิ้ง จะมีหมอแผนโบราณเพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้น   ที่สามารถปฏิบัติได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนับเป็นทั้งข้อดีและข้อเสียที่ควรคำนึงถึง
 การแพทย์แผนไทยสมัยรัชกาลที่ ๗
         กฎหมายเสนาบดี ได้แบ่งการประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรขึ้นในระหว่างปี พ..๒๔๘๕-๒๔๘๖ ขณะที่สงคราม
โลกครั้งที่ ๒ ลุกลามเข้ามาในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนยา ศาสตราจารย์  นพ. อวย เกตุสิงห์   ให้ศึกษาวิจัยสมุนไพร ที่ใช้รักษาไข้มาลาเรียที่
โรงพยาบาลสัตหีบ หลังจากสงครามโลกสงบลง ยังคงมีปัญหาขาดแคลนยาแผนปัจจุบัน รัฐบาลจึงมีนโยบายให้องค์การเภสัชกรรมกระทรวงสาธารณสุข ผลิตยาสมุนไพรเป็นยารักษาโรค


องค์กรเอกชนด้านการแพทย์แผนไทย
         ปี พ.. ๒๕๐๐ มีการก่อตั้งสมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณขึ้น ที่วัดโพธิ์
กรุงเทพฯ นับแต่นั้นมาสมาคมต่าง ๆ ก็ได้แตกสาขาออกไป ปัจจุบันมีโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องอยู่เป็นจำนวนมากทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด
     ปี พ.. ๒๕๒๖ ศาสตราจารย์ นพ. อวย เกตุสิงห์  แพทย์แผนปัจจุบันผู้ซึ่งเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของการแพทย์แผนไทยเป็นอย่างดี ได้ก่อตั้งมูลนิธิฟื้นฟูการแพทย์ไทยเดิมขึ้น ทำให้เกิดอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์)   ผลิตแพทย์แผนโบราณแบบประยุกต์ หลักสูตร ๓ ปี ในโอกาสต่อมา นับได้ว่าศาสตราจารย์ นพ. อวย เกตุสิงห์ เป็นบิดาของการแพทย์แผนไทยแบบประยุกต์ที่เปิดโอกาสให้แพทย์ไทยฟื้นตัวอีกครั้ง

No comments:

Post a Comment