วิวัฒนาการการแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทยยุคก่อนอาณาจักรสุโขทัย
ศิลาจารึกของอาณาจักรขอม ได้จารึกไว้ว่า ประมาณ พ.ศ. ๑๗๒๕-๑๗๒๙ พระเจ้าชัยวรมัมที่ ๗ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลตามความเชื่อในศาสนาพุทธ โดยสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า "อโรคยาศาลา" ขึ้น ๑๐๒ แห่งในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยและบริเวณใกล้เคียง และกำหนดผู้ทำหน้าที่รักษาพยาบาลไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ หมอ, พยาบาล, เภสัช, ผู้จัดสถิติ, ผู้ปรุงอาหารและยา รวม ๙๒
คน รวมทั้งมีพิธีกรรมบวงวรวง พระไภสัชยคุรุไวฑูรย์ประภา ตามความเชื่อทางศาสนาพุทธลัทธิมหายาน ด้วยการบูชา ด้วยยาและอาหาร ก่อนแจกจ่ายให้แก่ผู้ป่วย ปัจจุบันมีอโรคยาศาลาที่ยังเหลือปราสาทที่สมบูรณ์ที่สุด คือ กู่บ้านเขว้าจังหวัดมหาสารคาม
การแพทย์แผนไทยสมัยสุโขทัย
มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสุโขทัย และจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงได้บันทึกไว้ว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวงหรือเขาสรรพยาเพื่อให้ราษฎรได้เก็บสมุนไพรไปใช้รัษาโรคยามเจ็บป่วย ปัจจุบันภูเขาดังกล่าวอยู่ในอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย ในยุคนี้ศาสนาพุทธลัทธิหินยานมีบทบาทอย่างมาก พระภิกษุ นิยมธุดงค์ ศูนย์รวมของวัฒนธรรมและการศึกษาอยู่ที่วัด เชื่อว่าพระภิกษุยุคนี้มีความรู้ในการรักษาตนเองด้วยสมุนไพร และช่วยเหลือแนะนำประชาชนด้วย
การแพทย์แผนไทยสมัยอยุธยา
การแพทย์สมัยอยุธยามีลักษณะผสมผสานปรับประยุกต์องค์ความรู้การแพทย์พื้นบ้านทั่วราชอาณาจักร ผสมกับความเชื่อตามปรัชญาแนวพุทธ รวมทั้งความเชื่อทางไสยศาสตร์และโหราศาสตร์ เพื่อสอดคล้องกับสภาพของชุมชน
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบบันทึกว่ามีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน สำหรับประชาชนมีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่ง ทั้งในและนอกกำแพงเมืองมีการรวบรวมตำรับยาต่าง ๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์ การแพทย์แผนไทยสมัยนี้รุ่งเรืองมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวดไทยการแพทย์ตะวันตกเริ่มเข้ามามีบทบาทโดยมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสได้จัดตั้งโรงพยาบาลรักษาโรค แต่ก็ขาดความนิยมและล้มเลิกไป 

No comments:

Post a Comment